ใบเตย…..กลิ่นหอมมากประโยชน์

ใบเตย

ใบเตย  กลิ่นหอมมากประโยชน์

       ใบเตย สีเขียว สดใส ชุ่มฉ่ำ รู้สึกสบายตาทุกครั้งที่มองนับว่าใบเตยถูกนำมาใช้เป็นสีผสมอาหารจากธรรมชาติสีแรกๆ ที่คนไทยนึกถึงตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากมีสีสวยแล้ว กลิ่นของใบเตยก็เป็นที่กล่าวขานถึงไม่แพ้กัน เพราะไม่ว่าขนมไทยแท้หรือเบเกอรี่ของฝรั่ง ก็บรรจุกลิ่น และสีจากใบเตยเข้าไปใน สูตรเรียบร้อยแล้ว

             มาทำความทำความรู้จักใบเตย..

         ใบเตย ที่เราเรียกติดปากนั้นความจริงคือ “เตยหอม” มีแห่งกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของเมืองไทยนี้เอง จุดเริ่มต้นมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย ชื่อเสียงเรียงนามจริงของเตยหอมนั้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus amarylifolius Roxb ชื่อสามัญ Pandom wangi จัดอยู่ในวงศ์ของ Pandanus มีชื่อพื้นเมืองว่า เตยหอมใหญ่ (ภาคกลาง) เตยหอมเล็ก ปาแนะวองิง (ภาษามลายู – นราธิวาส) หวานข้าวไหม้ (ภาคเหนือ) ปาแนะออริง (ภาคใต้) และพั้งลั้ง (จีน) 

        ใบเตยกลิ่นหอมมากประโยชน์หอมเป็นไม้พุ่มสูง ใบเดี่ยว ปลายใบแหลมคล้ายหอก สีเขียวเป็นมัน ตรงกลางใบเป็นร่อง มีกลิ่นหอมเย็น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชอบขึ้นในที่ชื้น ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นข้อ เมื่อปลูกไว้นานๆ ตามต้นจะมีการแตกรากอากาศออกมาเป็นฝอยเพื่อดูดความชื้นในอากาศ ทำให้เกิดกลิ่นหอม ว้าว!! เตยหอม พืชมหัศจรรย์ใบเตยกลิ่นหอมมากประโยชน์

                                                                                       โบราณนำใบเตยมาประกอบอาหาร

            ในอดีตคนไทยหุงข้าวด้วยหม้อดินนิยมนำใบเตยมัดเป็นปมรวมกันสัก 4 – 5 ใบ ล้างให้สะอาดใส่ลงไปด้วย นั่นก็เพื่อความหอมของข้าวที่หุง กลิ่นใบเตยจะทำให้มีความอร่อยมากขึ้น ปัจจุบันใบเตยยังคงเป็นที่รู้จักในทุกระดับชั้น ส่วนใหญ่ใช้ใบเตยสดมาคั้นน้ำ แต่งสี และกลิ่นในอาหาร หรือใช้รอง ก้นหม้อเวลานึ่งข้าวเหนียวจะทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานนอกจากนี้เตยหอมยังสามารถนำมาทำดอกไม้ จัดแจกันตกแต่งโต๊ะอาหาร ใช้ดับกลิ่นเหม็นอับในบ้าน ในห้องครัวและรถ โดยเฉพาะพวกรถรับจ้างต่างๆ เช่น รถแท็กซี่ โดยการใช้ใบเตยสด

       กลิ่นหอมชวนให้น้ำลายไหลเป็นพรสวรรค์ของใบเตยส่วนสีเขียวธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กัน น้ำใบเตยสีเขียวนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารได้หลายอย่าง เช่น วุ้นกะทิใบเตย ที่มีทั้งรสชาติหวานหอมของใบเตย และเค็มเล็กๆ ของกะทิ ยิ่งถ้าก่อนรับประทานนำวุ้นไปแช่เย็นล่ะก็คงอร่อยไม่เบาเชียว ทับทิมกรอบใบเตย เคี้ยวหนึบๆ พอถึงด้านในได้ความกรอบของแห้วกับน้ำกะทิเข้มข้น เข้ากันได้ดี สังขยาใบเตย สังขยาร้อนๆ กับขนมปังอุ่นๆ ชวนให้สมาชิกในบ้านรับประทานกันได้ทุกเพศทุกวัย ถึงฝั่งเบเกอรี่บ้าง เค้กใบเตยรสชาติที่ขอสงวนสิทธิ์ไว้ให้กับคนไทย เพราะหารับประทาน ที่ไหนไม่ได้

         กลิ่นรัญจวนใจของใบเตยหอมนั้นมีอิทธิพลถึงขั้นมีคน นำมาดัดแปลงทำเป็นชาสมุนไพรไว้ชงรับประทานเลยที่เดียวโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านง่ายๆ คือ นำใบเตยมาล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้งแล้วนำไปคั่ว จากนั้นเก็บใส่ขวดหรือกระป๋องแบบใบชาก็จะได้ “ชาเตยหอม” เมื่อต้องการดื่มก็นำมาชงกับน้ำร้อน ได้ทั้งชาชั้นดีที่มีสรรพคุณช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ในราคาที่แสนจะถูกจากต้นเตยหอมหลังบ้านคุณนี่เอง